Gallery

CAMT ให้การต้อนรับเครือข่ายสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus +

อาจารย์ CAMT ให้การต้อนรับเครือข่ายสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus + พร้อมเยี่ยมชมการดำเนินงานนำร่องของ “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย”เมื่อวันที่ 13-15 ธันวาคม 2566 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้าโครงการ ASTRA ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล คงจิตต์ ให้การต้อนรับอาคันตุกะจาก University of Florence พันธมิตรภายใต้โครงการ ASTRA ในโอกาสเข้าตรวจเยี่ยมเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานนำร่อง “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (The monitoring visit of the pilot operation of the ASTRA R&D Innovation and Consulting Hub, CMU, Thailand)” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานในโครงการ ASTRA (Advancing Strategic Management Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia / ASTRA) ภายใต้กรอบการดำเนินงาน Erasmus+ โปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านอุดมศึกษา สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (European Union: EU)สำหรับกิจกรรมการตรวจเยี่ยมเพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานนำร่องศูนย์ฯ ครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สบว.มช) และ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี วัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานนำร่องของศูนย์ฯ ในมิติด้านความยั่งยืนและการขยายเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถแก่บุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ผ่านการดำเนินงานนำร่องของศูนย์ดังกล่าว ซึ่งได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลวิจัยและออกแบบรูปแบบวิธีการระดมทุน เพื่อการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาตั้งแต่ปลายปี 2564ในการนี้ อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ ได้กล่าวต้อนรับอาคันตุกะ แนะนำโครงการวิจัยต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นด้าน Cross border E-commerce การพัฒนาพื้นที่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมถึงโอกาสความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ และมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร (Student and staff mobility) ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus+ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้าโครงการ ASTRA และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร ได้กล่าวรายงานความคืบหน้าผลการการดำเนินงานนำร่องศูนย์ฯ ในรอบปีที่ผ่านมา และแผนการดำเนินงานศูนย์ฯ ในระยะยาว พร้อมนำอาคันตุกะเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการวิจัยด้านต่าง ๆ บริเวณชั้น 2 อาคารวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และบันทึกภาพถ่ายร่วมกัน ประกอบด้วย- ห้อง Innovation Computer & Advanced Technology Lab ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยโดย อาจารย์ ดร.เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ และทีมวิจัย- กลุ่มวิจัยด้านแอนิเมชันและเกมส์ (Nap Lab) ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยโดย อาจารย์ ดร.กลวัชร คล้ายนาค และทีมวิจัย- ห้อง Co-Working Space and Creative Design ของกลุ่มวิจัยด้าน 3D Printing โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมพล คงจิตต์ และทีมวิจัย พร้อมมอบพวงกุญแจที่ระลึก ผลงานที่สร้างจากเครื่อง 3D Printing ให้แก่อาคันตุกะ

ต้อนรับเครือข่ายสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus +

ต้อนรับเครือข่ายสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus + เยี่ยมชมการดำเนินงานของ “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย” ASTRA Research and Development Innovation and Consulting Hub, CMU, Thailand Advancing Strategic Management, Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia (ASTRA Project) อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี พร้อมด้วย นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผศ.ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้าโครงการ ASTRA และคณะทำงาน ประกอบด้วย ผศ.ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร ผศ.ดร.อุไรวรรณ หาญวงค์ อ.ดร.อัจฉรา คำอักษร ร่วมต้อนรับทีมเครือข่ายสหภาพยุโรป European Union โปรแกรม Erasmus + จาก Athens University of Economics and Business และ Symplexis ภาคีเครือข่ายที่สำคัญของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และคณะทำงาน “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย” กว่า 2 ปีที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการเรื่อง “Advancing Strategic Management, Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia” (ASTRA Project) ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European Union) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของโครงการ Erasmus+ โปรแกรมเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล เป็นหัวหน้าโครงการ และผู้รับทุนในฐานะตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสำนักงานบริหารงานวิจัยที่ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุกของมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นแสวงหาโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนให้กับ นักวิจัยภายในมหาวิทยาลัย เพื่อขับเคลื่อนพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเครือข่ายวิจัยระดับนานาชาติ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ศึกษาและวิจัยมากว่า 2 ปี โดยศึกษาเกี่ยวกับประเด็นเรื่องการระดมทุนในสถาบันระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชีย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความยั่งยืนทางการเงินและจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมสำหรับการพัฒนากิจกรรมการวิจัยในด้านสังคมศาสตร์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยพันธมิตรในภูมิภาคเอเชียและสหภาพยุโรปรวมกันกว่า 8 สถาบัน ทั้งในประเทศไทย อิตาลี กรีซ เยอรมัน และ สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันได้นำผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์เพื่อใช้ดำเนินงานนำร่อง “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย (ASTRA R&D Innovation and Consulting Hub, CMU Thailand)” ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนของการสนับสนุนภารกิจ ด้านเครือข่ายระดับนานาชาติ ภาคพื้นยุโรป ให้กับการดำเนินงานด้านการสร้างความร่วมมือ ทั้งเครือข่ายวิชาการ ภาคธุรกิจต่าง ๆ ที่เป็นภารกิจสำคัญ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี โดยความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์ ในฐานะหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน ได้รับทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาศูนย์ฯ ฯลฯ โดยได้จัดซื้ออุปกรณ์ครุภัณฑ์ที่จำเป็นทั้งระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์เครือข่ายเซิร์ฟเวอร์ที่จำเป็น รวมถึงระบบประชุมทางไกลแบบครบวงจรและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องมือพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะด้านการวิจัย ใช้จัดอบรมพัฒนาสำหรับบุคลากร เจ้าหน้าที่และนักศึกษา ทั้งนี้โครงการได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานบริหารงานวิจัยอีกส่วนหนึ่งในการดำเนินโครงการ ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานและเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารทรัพยากรร่วมกัน ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ Knowledge and Innovation Development Center (KIND) เพื่อต่อยอดและสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) ตามนโยบายของวิทยาลัย ฯลฯ สำหรับการแสวงหาโอกาสการเข้าถึงเครือข่ายธุรกิจอื่น ๆ เชื่อมงานวิจัยกับภาคธุรกิจให้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน การดำเนินงานในกรอบระยะเวลา 1 ปี หลังงานวิจัย โดยผลลัพธ์ที่ผ่านมาสามารถส่งข้อเสนอโครงการไปยังแหล่งทุนสำคัญๆ และได้รับทุนวิจัยเพื่อดำเนินการอย่างเป็นทางการแล้วจำนวน 1 โครงการ และอยู่ระหว่างการพิจารณาอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์ที่มีทิศทางที่ดีต่อการระดมทุนเพื่อสร้างความยั่งยืนในการทำวิจัยและสร้างความเข้มแข็งให้กับวิทยาลัย ฯลฯ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อไปในอนาคต ดังนั้นในการเยือนของสมาชิกเครือข่ายสหภาพยุโรปครั้งนี้ ถือเป็นการส่งผ่านและยืนยันในความร่วมมืออย่างเข้มแข็งอย่างเป็นทางการของนักวิจัยของวิทยาลัยฯ การดำเนินงานของศูนย์ฯ ภาพรวมของการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย กับเครือข่ายสหภาพยุโรป โปรแกรม Erasmus + เสริมความแข็งแกร่งให้กับมหาวิทยาลัยตามนโยบายด้านความร่วมมือระดับนานาชาติ

โครงการ วิจัย ASTRA กับพันธมิตรจากสหภาพยุโรปและเอเชียอีก 7 สถาบัน

อาจารย์ CAMT ร่วมโครงการ วิจัย ASTRA กับพันธมิตรจากสหภาพยุโรปและเอเชียอีก 7 สถาบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและวิเทศสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร อาจารย์ประจำวิทยาลัยศิลปะ สือ และเทคโนโลยี และ ผู้ช่วยศาสตราจย์ ดร.อุไรวรรณ์ หาญวงศ์ จากคณะศึกษาศาสตร์ ตัวแทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการวิจัย ASTRA (Advancing Strategic Management, Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia) ร่วมกับพันธมิตรจากสหภาพยุโรปและเอเชียอีก 7 สถาบัน เมื่อวันที่ 21-22 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรม Crowne Plaza Vientiane นครหลวงเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับโครงการ ASTRA เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป (European: EU) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของ Erasmus+ มีเป้าหมายเพื่อร่วมศึกษาหาแนวทางเรื่องการระดมทุนเพื่อการทำวิจัยให้กับบุคลากรทางวิชาการในสถาบันระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชีย สร้างความยั่งยืนด้านการวิจัยและจัดหาเงินทุนเพื่อการวิจัย และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาในสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และด้านการสื่อสารเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอซีที) กรอบระยะเวลาดำเนินงานโครงการรวม 3 ปี ตั้งเป้าหมายฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในการเข้าถึงทรัพยากรทางการเงินสำหรับการทำวิจัยให้มากขึ้น ซึ่งปลายทางของโครงการจะมีการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมและให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนาแห่งใหม่ จำนวน 4 แห่ง ภายในมหาวิทยาลัยพันธมิตร (ประเทศไทย 2 แห่ง สปป.ลาว 2 แห่ง) โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฐานะผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการได้แนวทางในการระดมทุนเพื่อการทำวิจัยจากภายนอกจากแหล่งทุนต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรภายในสามารถเขียนโครงการและมีเทคนิคต่าง ๆ ในการขอรับทุนวิจัยภายนอกได้อย่างเหมาะสมต่อไป ปัจจุบันโครงการ ASTRA อยู่ระหว่างการพัฒนาแนวปฏิบัติ (Protocol) จากฐานการวิจัยในรอบการดำเนินงาน 6 เดือนที่ผ่านมา เพื่อให้ได้คู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับใช้ดำเนินงาน “ศูนย์นวัตกรรมและให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา ASTRA” (ASTRA R&D Innovation & Consulting Hub) ซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต ความก้าวหน้าในปัจจุบัน ผลจากการประชุมในครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้เริ่มพัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรม “Train the Trainers Programme” เพื่อนำไปใช้ฝึกอบรมแก่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายจาก 4 มหาวิทยาลัยพันธมิตรในระยะถัดไป โดยได้ประชมุร่วมกับตัวแทนจากสถาบันพันธมิตรซึ่งได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนิงานนโครงการในระยะต่าง ๆ รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และการส่งมอบผลลัพธ์ของงานในแต่ละระยะ หลังจากนั้นได้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความเห็น เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข รวมทั้งแผนงานที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดไปอัปเดตและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่Website: www.astra-project.eu/Facebook page: ASTRATwitter: twitter.com/ASTRA_Project_

CAMT รุกความร่วมมือต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ASTRA และต่อยอดโครงการความร่วมมืออื่นๆ

CAMT รุกความร่วมมือต่างประเทศ เข้าร่วมประชุม ASTRA และต่อยอดโครงการความร่วมมืออื่นๆ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและความร่วมมือ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร อาจารย์ประจำวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ์ หาญวงค์ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการ (Project Steering Committee Meeting) เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ ASTRA (Advancing Strategic Management, Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia) ร่วมกับพันธมิตรจากสหภาพยุโรปและเอเชียอีก 7 สถาบัน เมื่อวันที่ 10-11 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมเพิร์ล ภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย วัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการในภาพรวม และเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดส่งรายงานความก้าวหน้าแก่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Union Commission) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนโครงการดังกล่าว โดยเหล่าตัวแทนจากสถาบันพันธมิตรได้ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รายงานปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น และให้ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไข การส่งมอบผลลัพธ์ของงานในแต่ละระยะภายในเวลาที่กำหนด รวมถึงการทบทวนแผนงานที่จะเกิดขึ้นในระยะถัดไป สำหรับโครงการ ASTRA เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (European Commission) ภายใต้กรอบการดำเนินงานของ Erasmus+ มุ่งสร้างขีดความสามารถแก่บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งโครงการได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2564 จนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ที่เหล่าพันธมิตรทั้ง 8 สถาบันได้ร่วมกันผลักดัน ASTRA ให้บรรลุภารกิจการส่งมอบผลลัพธ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ภารกิจถัดไปของโครงการ ASTRA คือ กิจกรรมการฝึกอบรมทักษะการเป็นผู้นำ หรือ Train the Trainers Programme ดำเนินการโดยพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรป ณ ประเทศอิตาลีและสาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ในระหว่างวันที่ 7-25 พฤศจิกายน 2565 โดยขั้นตอนนี้ถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรของสถาบันพันธมิตรที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการ “ศูนย์นวัตกรรมและให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา” แห่งใหม่ หรือ “R&D Innovation & Consulting Hub” ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อไป นอกจากนี้ยังมีการหารือเพิ่มเติมเพื่อการยื่นขอทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปในโครงการถัดไป ที่มีการส่งโครงร่างของคำสนับสนุนภายใต้ความร่วมมือที่สำคัญนี้ ซึ่งในปัจจุบันวิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์และดำเนินการความร่วมมือต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งด้านวิชาการและความร่วมมือด้านต่าง ๆอัปเดตและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่Website: www.astra-project.eu/Facebook page: https://www.facebook.com/astra.eu.projectTwitter: twitter.com/ASTRA_Project_Web:  https://www.coe.camt.cmu.ac.th

อาจารย์ CAMT ร่วมโปรแกรมสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรด้านอุดมศึกษา

อาจารย์ CAMT ร่วมโปรแกรมสริมสร้าง ขีดความสามารถบุคลากรด้านอุดมศึกษา “Train the Trainers” ภายใต้กรอบการดำเนินงาน Erasmus+ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิติพงษ์ ยอดมงคล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารงานวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ผู้ช่วยคณบดี ฝ่ายวิจัยและความร่วมมือ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยา กร อาจารย์ประจำวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรม “Train the Trainers” ภายใต้กรอบการดำเนินงาน Erasmus+ โปรแกรมเสริมสร้าง ขีดความสามารถบุคลากรด้านอุดมศึกษา สนับสนุนโดยสหภาพยุโรป (European Union: EU) ณ มหาวิทยาลัยลัยฟลอเรนซ์ (University of Florence) ประเทศอิตาลี และ มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจแห่งเอเธนส์ (Athens University of Economics and Business: AUEB) ณ สาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) ในระหว่างวันที่ 7-25 พฤศจิกายน 2565 สำหรับโปรแกรมการฝึกอบรม “Train the Trainers” ได้รับการพัฒนาโดยพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญจากสหภาพยุโรป ซึ่งดำเนินงานภายใต้โครงการ “Advancing Strategic Management, Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia” (ASTRA Project) ที่มีวัตถุประสงค์ของกิจกรรมการฝึกอบรม เพื่อมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่บุคลากรของสถาบันอุดมศึกษาให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ตลอดจนมีทักษะด้านความเป็นผู้นำและการจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับการหาแหล่งทุนวิจัยจากสหภาพยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อสมรรถนะสูงและนโยบาย Global partnership โปรแกรมการฝึกอบรมในครั้งนี้จึงถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการเตรียมความพร้อมบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้สามารถทำงานด้านต่าง ๆ ร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ สู่การจัดตั้งและบริหารจัดการ “ศูนย์นวัตกรรมและให้คำปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา” แห่งใหม่ หรือ “R&D Innovation & Consulting Hub” ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นภายใน 4 มหาวิทยาลัยพันธมิตรในระยะต่อไป (ประเทศไทย 2 แห่ง, ประเทศลาว 2 แห่ง) • การอบรมเชิงปฏิบัติการ รับฟังบรรยายและเยี่ยมชมหน่วยงานต่าง ๆ ณ University of Florence ประเทศอิตาลี คณะผู้วิจัยร่วมรับฟังบรรยาย อภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อต่าง ๆ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับสหภาพยุโรป เช่น - รูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการองค์กร - รูปแบบของทุนประเภทต่าง ๆ ภายใต้โปรแกรมของสหภาพยุโรป - แนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการภายใต้กรอบการดำเนินงานของสหภาพยุโรป ตลอดจนการเข้าเยี่ยมชมหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ทำให้มองเห็นโอกาสความร่วมมือด้านต่าง ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และหน่วยงาน เช่น - The Media Integration and Communication Center, University of Florence (MIC, UNIFI) - LabCom-Research and Action for psychosocial well-being, Academic Spin-off University of Florence - UNIFI Business Incubator • กิจกรรมการฝึกอบรมหัวข้อ Leadership Course ที่มุ่งเน้นการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องทักษะการเป็นผู้นำ (Leadership skill) และการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic management) รับฟังการบรรยายหัวข้อเรื่อง EU Funding Opportunities for ASIAN Universities และ ศึกษาดูงาน ณ Athens Center for Entrepreneurship and Innovation (ACEin) และ R&D Hub of Harokopio University นอกจากนี้ คณะทำงานยังได้ร่วมกันพัฒนาข้อเสนอภายใต้โปรแกรม เพื่อการยื่นขอทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรปในโครงการถัดไป ซึ่งจะได้รับการส่งเสริมและช่วยเหลือจากเครือข่ายพันธมิตร เสริมสร้างโอกาสความร่วมมือทางวิชาการและความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆ ระหว่างวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับภาคีเครือข่ายหน่วยงานสหภาพยุโรปให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นอัปเดตและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่Website: www.astra-project.eu/Facebook page: https://www.facebook.com/astra.eu.projectTwitter: twitter.com/ASTRA_Project_https://coe.camt.cmu.ac.th

เปิดตัวศูนย์ ASTRA มช. ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป

ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย (ASTRA Research and Development Innovation and Consulting Hub, CMU, Thailand)” ภายใต้โครงการ ASTRA เปิดตัวอย่างเป็นทางการ พร้อมนำร่องกิจกรรมการขอทุนวิจัยทั้งภายในและต่างประเทศ สนับสนุนบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่อย่างเต็มรูปแบบ เมื่อวันศุกร์ที่ 31 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้าโครงการ ASTRA (Advancing Strategic Management, Leadership and Fundraising in Higher Education in Asia - ASTRA) ร่วมกับ อาจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยคณบดีด้านการบริหารระบบ ISO30401 หัวหน้าศูนย์รวมนวัตกรรมและการจัดการองค์ความรู้ (KIND by CAMT) จัดงาน “KIND BY CAMT & ASTRA HUB OPEN HOUSE DAY” ณ ศูนย์ KIND by CAMT ชั้น 3 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อเปิดตัวศูนย์ “KIND by CAMT” และ “ศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย” อย่างเป็นทางการ ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี และ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สบว.มช) เพื่อมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถแก่บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ผ่านการดำเนินงานนำร่องของศูนย์ดังกล่าว ซึ่งได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลวิจัยและออกแบบรูปแบบวิธีการระดมทุน เพื่อการแสวงหาแหล่งทุนวิจัยให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาตั้งแต่ปลายปี 2564 ภายในงานมีพิธีลงนาม “ข้อบังคับศูนย์ให้คำปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ASTRA มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประเทศไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นตัวแทนลงนาม พร้อมด้วย นายธรรมนูญ น่วมอนงค์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สบว.มช) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรวรรณ หาญวงค์ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพร รีวีระกุล ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมและการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ตัวแทนคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ร่วมถ่ายภาพเป็นสักขีพยานการลงนามในครั้งนี้ด้วย โดยงานดังกล่าว ได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการและพันธมิตรทั้งในระดับภูมิภาคและในจังหวัดเชียงใหม่ อาทิ สมาพันธ์ สมาคม Bizclub Chiangmai หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และกลุ่มผู้ประกอบการการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมแสดงความยินดีและรับฟังการบรรยายนำเสนอภาพรวมโครงการและทิศทางการดำเนินงานศูนย์ฯ (ASTRA Project and Road map of the ASTRA R&D Hub) ทั้งนี้ ผู้ร่วมงานได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ ASTRA R&D Hub และร่วมพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่าง ๆ ทั้งในด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย การสร้างเครือข่ายนักวิจัย และโอกาสในการขอทุนวิจัยในต่างประเทศ อีกทั้งต่างแสดงความคาดหวังต่อศูนย์ฯ และได้ให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำเนินงานนำร่องศูนย์ฯ ในอนาคต อัปเดตและติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่Website: www.astra-project.eu/Facebook page: https://www.facebook.com/astra.eu.projectTwitter: twitter.com/ASTRA_Project_